ประวัติโครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 101 สายน่าน - อ.เฉลิมพระเกียรติ ตอน บ.ปอน - อ.เฉลิมพระเกียรติ ตอน 2

ระยะทางตลอดสาย : ทางหลวงหมายเลข 101 ตอนควบคุม 0601, 0602 และ 0603 ตอน สี่แยกช้างเผือก - ปัว - ปางหก - จุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น/น้ำเงิน (เขตแดนไทย/ลาว) เริ่มต้นที่ กม.368+730 ที่ อ.เมือง ไปสิ้นสุดที่ กม.505+853 ด่านชายแดนถาวรห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ รวมระยะทางยาว 132.411 กม. สภาพทางเดิม : ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1080 เริ่มต้น กม.0+000 ที่ อ.เมือง จ.น่าน ขึ้นไปทางเหนือผ่าน อ.เมือง, อ.ท่าวังผา, อ.ปัว, อ.เชียงกลาง, อ.ทุ่งช้าง, อ.เฉลิมพระเกียรติ และสิ้นสุดที่ บ.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ กม.133+500 สภาพทางเดิมเป็นทางลูกรังคันทางกว้าง 4 - 8 เมตร มีแนวทางคตเคี้ยวมาก และน้ำท่วมทางเป็นบางตอน สะพานเป็นสะพานไม้ คันทางและช่องน้ำต่าง ๆ อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก ต้องดูแลบำรุงรักษาตลอดปี สภาพทางก่อนรับมอบและสภาพทางปัจจุบัน : 1. ในปี 2510 กรมทางหลวงพิจารณาเห็นว่า ทางสายนี้ชำรุดเสียหายมาก สมควรที่จะได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้ดีขึ้น จึงได้เริ่มก่อสร้างปรับปรุงอย่างเร่งด่วน โครงการดำเนินการเองได้ทำการขยายคันทางที่แคบ ให้กว้าง 6 - 8 เมตร ผิวทางเป็นกรวดปนทราย และก่อสร้างสะพานเบลี่ย์ข้ามลำห้วยที่สำคัญๆรวม 7 แห่ง ระหว่าง จ.น่าน - อ.ทุ่งช้าง พอให้ยวดยานพาหนะสัญจรไปมาได้โดยสะดวกปลอดภัยยิ่งขึ้น ได้ปรับปรุงแก้ไข ช่องน้ำต่าง ๆ ให้ถาวรและเพียงพอแก่การระบายน้ำ รวมทั้งได้ก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามแม่น้ำน่านที่ กม.30+000.000 ปัจจุบัน กม.399+065 บ.ผาขวาง เนื่องจากทางหลวงสายนี้เป็นทางหลวงที่ออกจากจังหวัดน่านไปทางทิศเหนือ จรดพรมแดน สปป.ลาว ผ่านท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้ก่อการร้ายคุกคาม ขัดขวางการประกอบอาชีพของประชาชนอยู่เสมอ จึงนับได้ว่า มีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามเป็นอย่างยิ่งนอกจากนี้ยังเป็นการ ส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎรในบริเวณนี้ อันก่อให้เกิดผลดีต่อทางเศรษฐกิจและการปกครองยิ่งขึ้น ประกอบกับทางฝ่ายราชการทหาร ขอให้เร่งรัดการดำเนินการก่อสร้างให้สำเร็จโดยเร็ว กรมทางหลวงจึงได้เริ่มบูรณะและก่อสร้างทางสายนี้ตั้งแต่ปี 2514 เพื่อให้งานก่อสร้างบูรณะทางแล้วเสร็จโดยเร็วสมความมุ่งหมาย กรมทางหลวงจึงได้ประมูลงานจ้างเหมาบูรณะลาดยางทางสายนี้ขึ้น จาก จ.น่าน ถึง บ.ปอน มาตรฐานทาง F 2 B คันทางกว้าง 8 เมตร ผิวจราจรแบบ FEXIBLE PAVEMENT ชนิด PENETRATION MACADAM DOUBLE SURFACE TREATMENT และ ASPHALTIC CONCRETE กว้าง 5.50 เมตร ไหล่ทางลูกลังกว้างข้างละ 1.25 เมตรแบ่งการประมูลเป็น 4 ตอน แล้วเสร็จ 3 ตอน จาก กม.0+000.000 - กม.79+950.000 คงเหลือตอนที่ 4 จาก กม.79+950 - กม.104+094 (ระหว่าง เชียงกลาง,ทุ่งช้าง,ปอน) ซึ่งเริ่มก่อสร้างบูรณะในปี 2518 แล้วเสร็จในปลายปี 2519 มาตรฐานทาง F 2 B เช่นเดียวกับตอนที่ 1, 2, และ 3
2. ช่วงระหว่าง กม.104+000 - กม.133+500 ทางเดิมเป็นทางลาดยาวกว้าง 4.00 เมตร คันทางกว้าง 6.00 เมตร มีความลาดชันมาก ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันเลียบไปตามไหล่เขาไปสู่ บ.ห้วยโก๋น และเขตชายแดน ไทย - ลาว และยังเป็นเส้นทางตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระเทพฯ ได้สนพระทัยและมีพระราชประสงค์ให้พัฒนาพื้นที่และถนนหนทางบริเวณชายแดน บ.ห้วยโก๋น เพื่อให้รถยนต์โดยสารขนาดใหญ่สามารถผ่านไปมาได้
3. ทางหลวงหมายเลข 1080 จาก กม.0+000 - กม.133+500 จึงได้แบ่งออกเป็นตอนควบคุมได้ 6 ตอนควบคุม ดังนี้ 3.1. ทล. 10800100 ตอน ต่อเขตเทศบาลน่านควบคุม - ท่าวังผา จาก กม.0+000 - กม.42+000 ระยะทางยาว 42.404 กม. (ตอนนี้รับมอบจากแขวงฯ น่าน วันที่ 4 สิงหาคม 2551) 3.2. ทล. 10800201 ตอน ท่าวังผา - ทุ่งช้าง จาก กม.42+000 - กม.90+000 ระยะทางยาว 46.507 กม. 3.3. ทล. 10800300 ตอน ทุ่งช้าง - ปอน จาก กม.90+000 – กม.104+000 ระยะทางยาว 14.000 กม. 3.4. ทล. 10800401 ตอน ปอน - ปางหก จาก กม.104+000 – กม.119+000 ระยะทางยาว 15.000 กม. 3.5. ทล. 10800402 ตอน ปากหก - ห้วยโก๋น จาก กม.119+000 - กม.133+500 ระยะทางยาว 14.500 กม. 3.6. ทล. 10800403 ตอน แยกทางหลวงหมายเลข 10800402 - จุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น/น้ำเงิน (เขตแดนไทย-ลาว) จาก กม.0+000 - กม.6+020 ระยะทางยาว 6.020 กม. (ทางสายนี้ได้รับมอบจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน) ขึ้นเป็นทางบำรุง 24 มีนาคม 2551 4. ปัจจุบันทางหลวงหมายเลข 1080 ได้เปลี่ยนเป็นเลข 101 แบ่งตอนควบคุมเป็น 3 ตอนควบคุม คือ 4.1. ทล. 1010601 ตอน ที่แยกช้างเผือก - ปัว กม.368+370 - กม.429+000 ระยะทางยาว 60.270 กม 4.2. ทล. 1010602 ตอน ปัว - ปางหก กม.429+000 - กม.485+000 ระยะทางยาว 56.000 กม. 4.3. ทล. 1010603 ตอน ปางหก - จุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น/น้ำเงิน (เขตแดนไทย-ลาว) กม.485+000 - กม.505+853 ระยะทางยาว 20.853 กม 5. สภาพสะพานและช่องน้ำ 5.1. ท่อกลม ค.ส.ล. ขนาดต่าง จำนวน 339 แห่ง 5.2. ท่อเหลี่ยม ค.ส.ล. (Box Culvert) จำนวน 51 แห่ง 5.3 สะพาน ค.ส.ล. จำนวน 43 แห่ง แผนงานในอนาคต : จะทำการก่อสร้างและบูรณะทางสายนี้เป็นมาตรฐานทางชั้น 1 (14/19) ผิวจราจรลาดยางกว้าง 14.00 เมตร ไหล่ทางข้างละ 2.50 เมตร ตลอดสาย
ลิขสิทธิ์ © 2016 สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง
อาคารเฉลียววัชรพุกก์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400