ประวัติโครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันออก ตอน แยกทางหลวงหมายเลข117-บรรจบทางหลวงหมายเลข 225 ตอน 3

ความเป็นมา
เพื่อพัฒนาทางหลวงให้ได้มาตรฐานที่ดีขึ้น โครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ ด้านตะวันออก เป็นการเพิ่มโครงข่ายทางหลวงเพื่ิอสนับสนุนการขนส่งของจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการก่อสร้างเพื่อสนับสนุนยุธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ของประเทศ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ภาคการขนส่งให้สมบูรณ์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์คมนาคม โดยมีเป้าหมายการเชื่อมโยงโครงข่าย (Connectivity) และเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทาง (Mobility) ซึ่งเป็นเป้าหมายบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์และประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก กรมทางหลวงได้รับงบประมาณปี 2564 เพื่อทำการก่อสร้าง สายทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ ด้านตะวันออก ตอน แยกทางหลวงหมายเลข 117 - บรรจบทางหลวงหมายเลข 225

วัตถุประสงค์ของโครงการฯ
1.เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมือง
2.เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการฯ
1.เกิดการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.ลดปริมาณจราจรที่ไม่จำเป็นต้องผ่านตัวเมืองนครสวรรค์
3.ลดต้นทุนในการขนส่งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม
4.ลดการใช้พลังงาน อันเกิดจากการจราจรติดขัดในเขตตัวเมือง
5.ส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

ลักษณะโครงการฯ
1.ก่อสร้างทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร (ในกรณีงบประมาณมีไม่เพียงพอ จะดำเนินการก่อสร้างขนาด 2 ช่องจราจรก่อน)
2.สะพานข้ามลำน้ำทั้งหมด 7 แห่ง และสะพานข้ามถนนเดิมอีก 2 แห่ง
3.อุโมงค์สำหรับระบายน้ำขนาดใหญ่ ประมาณ 24 แห่ง ตลอดเส้นทาง
4.จุดกลับรถใต้สะพานทั้งหมด 7 จุด และมีความสูงของช่องลอดไม่ต่ำกว่า 5 เมตร
5.ทางแยกต่างระดับบริเวณจุดสิ้นสุดของโครงการ จุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 225
ลิขสิทธิ์ © 2016 สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง
อาคารเฉลียววัชรพุกก์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400