ประวัติโครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้างบูรณะโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างภาค ทางหลวงหมายเลข 41 สาย บ.เขาบ่อ-บ.ท่าทอง (ขาขึ้น) เป็นตอนๆ

(1.) ระยะทางควบคุม เริ่มต้น กม. 0+000 ที่สี่แยกปฐมพร ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร สิ้นสุดเขตการควบคุมที่ กม. 97+000 ต่อเขต จ.สุราษฎร์ธานี แบ่งตอนระยะการควบคุมดังนี้ ตอนควบคุมที่ 00410100, 00410200 และ 00410300 เส้นทางสายนี้ผ่านหมู่บ้านสี่แยกปฐมพร จ.ชุมพร, บ้านนา, บ้านเขาปูน, บ้านขุนกระทิง, บ้านคนที, บ้านห้วยนนท์, บ้านในห้วย, บ้านห้วยแก้ว, บ้านหนองหมูก, บ้านเขาบ่อ, บ้านทุ่งหงษ์, บ้านทุ่งคา ,บ้านคอนสะท้อน, บ้านเขาค้อ, บ้านเชิงกระ, บ้านคลองสูบ, บ้านเขาชันโต๊ะ, บ้านวิสัยเหนือ, บ้านคลองโชน, บ้านแหลมลำภู, บ้านห้วยลึก, บ้านนาเหรี่ยง, บ้านวิสัยใต้, บ้านท่าช้าง, บ้านช่องงาย, บ้านครน, บ้านไทรลำ, บ้านพะงุ้น, บ้านคลองน้อย, บ้านแหลมปอ, บ้านควนตะล่อม, บ้านนาคราม, บ้านนาคล่อง, บ้านสวนสีแท, บ้านหนองบัว, บ้านเขาน้อย, (อำเกอสวี), บ้านเขาสวนทุเรียน, บ้านหัวนา ,บ้านเขาปีบ, บ้านหนองจิก, บ้านควนหมาแหงน, บ้านคลองโชน, บ้านบนควน (กิ่ง อ.ทุ่งตะโก) บ้านคลองเพรา, บ้านท่าทอง, บ้านเหมืองในหูด, บ้านสันติสุข, บ้านหนองปลา, บ้านเขาแงน, บ้านเขาม่วง, บ้านวังตะกอ, บ้านพะเนียด, บ้านหนองแหล ,บ้านเขาวอ, บ้านคลองกก, บ้านควนมะพร้าว, บ้านวัดเหนือ, บ้านหนองโพ, บ้านทับช่อน, บ้านเขาพาง, บ้านคลองเสร็จ, บ้านเขาหลาง, บ้านห้วยทรายขาว, บ้านละแม, บ้านหนองคง, บ้านเขาพลู, บ้านสวนสมบูรณ์, บ้านในพรุและทางเข้าบ้านควนสูงสุดเขตควบคุมแขวงการทางชุมพรต่อเขต จ.สุราษฎร์ธานี (2.) สภาพปัจจุบันจาก กม.0+000-66+200เป็นผิวทางลาดยางแบบ STD.PM. ผิวจราจรกว้าง 6.50 ม. ไหล่ทาง 2.50 ม. เขตทางซ้าย 20.00 ม. เขตทางขวา 40.00 ม. จาก กม.66+200-97+000 เป็นผิวลาดยางแบบ S.T. ผิวจราจรกว้าง 6.50 ม. ไหลาทาง 2.50 ม. เขตทางซ้าย 30.00 ม. เขตทางขวา 50.00 ม. (3.) ทางหลวงสายนี้กรมฯ ได้จ้างเหมาบริษัทเบสเอ็นยิเนียริ่งรับเหมาก่อสร้างในปี 2508 และก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2510 กรมฯ ได้ทำพิธีเปิดการจราจรในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2511 เส้นทางสายนี้นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมากยังประโยชน์แก่ประชาชนให้ได้รับความสะดวกในด้านการคมนาคมและการขนส่งทางหลวงช่วยให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ในภาคใต้มีบทบาทยังผลให้สินค้าจากตลาดภาคใต้เข้าสู่กรุงเทพฯได้โดยสะดวกปลอดภัยและประหยัดเวลาอีกทั้งเป็นหนทางการบุกเบิกแหล่งแร่และทรัพยากรธรรมชาติ โดยทางเกษตรกรรม, พาณิชย์อุตสาหกรรมต่างๆ การประมงและความมั่นคงในการปกครองประแทศตลอดจนช่วยส่งเสริมการทัศนาจรดินแดนของภาคใต้อีกด้วย (4.) ปริมาณการจราจร 5002 คัน/วัน


*ปี 2508 - ก่อสร้างทางลาดยาง กม. 0+000-97+000 ผิวจราจร AC.กว้าง 7.00 ม.
ไหล่ทางข้างละ 2.50 ม.
*ปี 2527 - บูรณะผิวแอสฟัลท์ กม. 0+000-31+316
- เสริมผิวแอสฟัลท์ กม. 0+000-31+316/31+000,34+569-66+200
*ปี 2530 - เสริมผิวแอสฟัลท์ กม. 76+070-80+000
*ปี 2531 - เสริมผิวแอสฟัลท์ กม. 76+070-80+000
*ปี 2532 - ติตตั้งไฟสัญญาณและไฟฟ้าแสงสว่าง กม. 87+361
- ซ่อมไฟสัญญาณและไฟฟ้าแสงสว่าง กม. 66+200
*ปี 2534 - ฉาบผิวแอสฟัลท์ กม. 0+000-31+000
- เสริมผิวแอสฟัลท์ กม. 34+560-66+200, 66+200-97+000
- ป้องกันน้ำกัดเซาะ กม. 21+771-30+020
- ก่อสร้างทางระบายน้ำถาวร กม. 34+784-34+866,34+881-34+966,49+550-
50+000
*ปี 2535 - เสริมผิวแอสฟัลท์ กม. 40+000-41+408,66+400-69+120
- ติดตั้งไฟสัญญาณ กม. 62+544-62+856,65+407-66+015
*ปี 2536 - ซ่อมไหล่ทางลูกรัง กม. 38+000-55+000 (เป็นตอน ๆ)
- ปรับปรุงไหล่ทางเป็นไหล่แข็ง (CS) กม. 31+000-31+316BK. ,31+000AHD.-
36+800 เป็นตอน ๆ
- ผลิตป้ายและเครื่องหมายนำทาง กม. 40+800 ข้างละ 2.50 ม.
ลิขสิทธิ์ © 2016 สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง
อาคารเฉลียววัชรพุกก์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400