ประวัติโครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3901 สายทางบริการด้านนอกของทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) ด้านซ้ายทาง ตอน 2

ปัจจุบันทางหลวงสายนี้ สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง ได้ออกประกาศประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเลคทรอนิกส์เลขที่ สท. 1/41/2563 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 งานจ้างเหมาทำการก่อสร้างหมายเลข 3901 สายทางบริการด้านนอกของทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) ด้านซ้ายทาง ตอน 2 ระหว่าง กม.56+700.000 LT. - กม.62+300.000 LT. ระยะทางยาวประมาณ 5.600 กิโลเมตร รวมงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวง เริ่มต้นจากท้องที่ ตำบลคลองพระอุดม อำเภอลาดหลุมแก้ว ไปสิ้นสุดที่บ้านคลองบางหลวง ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี กำหนดประกาศยื่นข้อเสนอและเสนอราคาผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 ผลการประกาศประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอเล็กทอรนิกส์ได้มีผู้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคา จำนวน 2 ราย บริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นเงิน 667,856,000.00 บาท และปรับลดลงอีกเหลือ 664,595,000.00 บาท และได้มีการลงนามในสัญญาก่อสร้างเมื่อ วันที่ 17 กันยายน 2563
เพื่อพัฒนาทางหลวงให้ได้มาตรฐานที่ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย เป็นเส้นทางสายสำคัญในการคมนาคมขนส่งที่ใช้ในการเลี่ยงการจราจรที่ต้องผ่านพื้นที่เศรษฐกิจด้านในกรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องได้รับการก่อสร้างทางบริการในช่วงบางบัวทอง - บางปะอิน รองรับการพัฒนาทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) เป็นมอเตอร์เวย์เต็มระบบสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ของประเทศ ในส่วนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ภาคการขนส่งให้สมบูรณ์ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ( ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ) รวมทั้งโครงการดังกล่าว ยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโลจิสติกส์ ฉบับที่ ๓ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ระบบการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งเป็นเป้าหมายบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก
วัตถุประสงค์ของโครงการฯ
ก่อสร้างทางบริการ (ด้านซ้ายทาง) ขนาด 3 ช่องจราจร เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว และเพิ่มความปลอดภัยด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ประโยชน์ที่ได้รับการดำเนินโครงการฯ
1) โครงข่ายถนนทางหลวง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2) ต้นทุนการขนส่งของประเทศลดลง
3) ผู้ใช้ทางได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
4) ปัญหาการจราจรติดขัดลดลง
ลิขสิทธิ์ © 2016 สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง
อาคารเฉลียววัชรพุกก์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400