ประวัติโครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 415 สาย พังงา - อ.บ้านตาขุน ตอน บ.บางคราม - บ.ปากน้ำ ตอน 2

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 415 อ.พนม-บ.เขาต่อ-อ.ทับปุด ระหว่าง กม.0+000-กม.161.25 ระยะทาง 48+161.25 กม. เริ่มต้นที่ทางแยก กม.64+500 ของทางหลวงหมายเลข 401 ที่ บ.วังใหม่ อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี มีแนวทางลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่าน บ.ทับคริสต์ อ.พนม บ.เขาต่อ อ.ปลายพะยา สิ้นสุดที่จุดจลทางหลวงหมายเลข 4 กม.163+500 ที่ บ.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ เส้นทางนี้เดิมเป็นทางเกวียนที่ราษฎร์ใช้สัญจรและเอกชนใช้ประกอบอาชีพในการทำไม้ ต่อมาแขวงการทางสุราษฎร์ธานีได้รับมอบเส้นทางเป็นทางรักษาสภาพทางช่วง 27 กม. แรกในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนที่เหลือในพื้นที่จังหวัดกระบี่อยู่ในความรับผิดชอบของแขวงการทางกระบี่ เดิมแขวงฯ รับผิดชอบจากกม.0+000-กม.27+000 ต่อมาปี 2525 ได้แบ่งระยะควบคุมใหม่ รับจากแขวงฯ กระบี่ ถึง กม.37+000 และแขวงฯ กระบี่ รับมอบจากแขวงฯ สุราษฎร์ธานีระหว่าง กม.0+000-กม.37+000 (กม.0+000 เริ่มที่ อ.พนม) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2527 แขวงฯ กระบี่ รับมอบจากจังหวัดกระบี่ ระหว่าง กม.0+000-กม.25+632 (กม.0+000 เริ่มที่ บ.ปากลาว) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2506 ปี 2523 ศูนย์สร้างทางสุราษฎร์ธานีได้รับงบประมาณก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคงก่อสร้างทางลูกรัง มาตรฐานคันทางกว้าง 9.00 เมตร และลาดยางกว้าง 5.00 เมตร ย่านชุมชนเป็นตอนระหว่าง กม.0+000-1+600, 2+700-4+000, 5+800-7+250, 14+300-24+000, 34+000-48+161 และปี 2527 แขวงการทางกระบี่ได้รับมอบเป็นทางบำรุงตลอดเส้นทางทางปี 2529, 2530 แขวงการทางกระบี่ได้งบประมาณลาดยางต่อจาก กม.29+000-กม.33+800 แขวงฯ สุราษฎร์ธานี รับมอบจากศูนย์เครื่องมือกลสุราษฎร์ธานี มาดำเนินการต่อเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2527 และกองรับมอบเป็นทางบำรุง ตามบันทึกกองที่ คค 0651/ส.3/12.3/1759 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2527 เนื่องจากเส้นทางนี้เป็นทางลัดที่เชื่อมระหว่างจังหวัด
สุราษฎร์ธานีกับจังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต โดยย่นระยะทางจากเส้นทางเดิมที่ขึ้นเขาสก ผ่านตะกั่วป่าตามทางหลวงหมายเลข 401 ถึง 47 กม. และไม่ต้องขึ้นเขา ทำให้ใช้เวลาน้อยลง การคมนาคมสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น การขนส่งสินค้าและการบริการจะสะดวก รวดเร็วขึ้น และช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ภาคใต้ตอนบนการก่อสร้างทางลาดยางเส้นทางนี้จึงจัดว่าเป็นโครงการที่ได้รับผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจสูงมากเส้นหนึ่ง กรมทางหลวงได้ประกาศเชิญชวนประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางลาดยาง สาย อ.พนม-บ.เขาต่อ-อ.ทับปุด เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2534 โดยเปิดซองประกวดราคา ณ ที่ทำการเปิกซองประกวดราคากรมทางหลวง เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2534 ปรกกฎว่ามีผู้เสนอราคาในกำหนดเวลารับซอง 2 ราย ตามลำดับที่เสนอถูกต้องดังนี้ 1. บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคา 216,026,694- บาท และบริษัทเสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด เสนอราคา 225,293,020- บาท ปรากฏว่าบริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคาต่ำสุดแต่ยังสูงกว่าราคากลาง คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาได้ทำการต่อราคา ถึง 3 ครั้ง จนบริษัทฯ ลดเหลือ 206,234,920- บาท คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นควรรับราคา สำนักงบประมาณพิจารณาราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและได้กำหนดวงเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด 10% เป็นเงิน 20,232,492- บาท เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2534 และกระทรวงอนุมัติรับราคาเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2534 บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้เซ็นต์สัญญาเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างทางสายนี้ด้วยเงิน งบประมาณ 203,234,920- บาท ตามสัญญาที่ กจ./ท.1/2535 ลงวันที่ 5 ธันวาคม 2536 เวลาทำการ 720 ค่าปรับวันละ 61,000- บาท ลักษณะโครงการฯ เป็นโครงการก่อสร้างเพื่อพัฒนาทางหลวงที่ผิวจราจรลูกรังเป็นทางลาดยางมาตรฐาน S2 (6.5/11) ผิวจราจรลาดยางแบบ Asphalt Concrete หนา 5 ซม. กว้าง 6.50 ม. ไหล่ทางลาดยางแบบ Sing Surface Treatment กว้างข้างละ 2.25 ม. มีโครงสร้างทาง ผิวทาง Asphalt concrete หนา 5 ซม. พื้นทางหินคลุกหนา 20 ซม. รองพื้นทาง Sail Aggregate หนา 15 ซม. วัสดุคัดเลือก “ก” หนา 15 ซม. และระหว่าง กม.0+000-กม.34+000 เพิ่มวัสดุคัดเลือก-“ข” หนา 15 ซม. อีก 1 ชั้น เพราะ CBR. ดินเดิมต่ำดัง Typical X-Section แนบมีงานปรับปรุงทางแยก 3 แห่ง และติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างปริมาณทางแยก 2 แห่ง มีงานอำนวยความปลอดภัยและจราจรสงเคราะห์ตลอดสาย มีงานปรับปรุงทางระบายน้ำต่างๆ แต่ไม่มีงานก่อสร้างสะพาน ค.ส.ล. และท่อเหลี่ยม ค.ส.ล. ใหม่และสะพานเดิม ค.ศ.ล. เฉพาะสะพาน ค.ศ.ล. เดิม 13 แห่ง และท่อเหลี่ยม ค.ส.ล. เดิม 13 แห่ง มีสภาพดี การดำเนินงานและผลงานก้าวหน้าของโครงการที่ผ่านมา หลังจากเจ้าที่กรมทางหลวงได้เดินทางมาปฏิบัติงานควบคุมการก่อสร้าง ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 และตรวจสอบแนวทางและหมุดหลักฐานต่างๆ แล้ว บริษัท ซีวิลเอ็นจีเนียริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับจ้างได้เข้าดำเนินการก่อสร้าง ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2534 และได้ดำเนินการเร็วกว่าแผนในช่วงปีแรก แต่ได้ทำการก่อสร้างงานทุกรายการแล้วเสร็จหมดพอดีสัญญา แขวงการทางกระบี่ รับมอบจากบริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2536 กองรับมอบเป็นทางบำรุงตามบันทึกกองฯ ที่ คค 0613/12.1/1436 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537 ณ ปัจจุบัน แขวงการทางพังงา ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลถนน หมายเลข 415 ต่อไป (ในบางช่วง)
ลิขสิทธิ์ © 2016 สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง
อาคารเฉลียววัชรพุกก์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400