ประวัติโครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1091 สายพะเยา - น่าน ตอน บ.สองแคว - น่าน

ประวัติความเป็นมาของโครงการฯ
ทางหลวงหมายเลข 1091 สายพะเยา-น่าน เป็นโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดน่านไปยังจังหวัดพะเยา เป็นแนวเส้นทางที่มีส่วนช่วยส่งเสริมในด้านการท่องเที่ยวการค้าและการลงทุนทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมระหว่างจังหวัดทั้งสองก่อนจะเชื่อมโยงเข้าสู่ตลาดการค้าในกลุ่มภาคเหนือตอนบน และเชื่อมต่อไปยังตลาดการค้าในกลุ่มภูมิภาคอื่นๆ รวมถึงเป็นโครงข่ายที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางอย่างรวดเร็วระหว่างจังหวัดน่านไปยังจังหวัดพะเยาและไปยังจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย
เพื่อพัฒนาทางหลวงให้ได้มาตรฐานที่ดีมากขึ้น เชื่อมต่อระบบขนส่ง เพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มสูงมากขึ้น โดยทำการขยายทางเดิมเป็น 4 ช่องจราจร ซึ่งทางหลวงหมายเลข 1091 เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างจังหวัดน่านและจังหวัดพะเยา เป็นเส้นทางสายสำคัญของภาคเหนือตอนบน สนับสนุนการเดินทางระหว่างจังหวัด (Intercity Transportation) ให้ได้รับความสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ของประเทศ ในส่วนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ภาคการขนส่งให้สมบูรณ์ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2530 – 2564) เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ระบบการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งเป็นเป้าหมายบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์และประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก
กรมทางหลวงได้รับงบประมาณปี 2563 เพื่อทำการก่อสร้างทางโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1091 สายพะเยา - น่าน ตอน บ.สองแคว - น่าน กม.116+000.000 - กม.134+827.000 รวมระยะทางยาวประมาณ 18.827 กิโลเมตร ตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า k) กำหนดเป็นมาตรฐานชั้นทางพิเศษ (4 ช่องจราจร) โดยบูรณะปรับปรุงและก่อสร้างขยายจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร (ไปกลับข้างละ 2 ช่องจราจร) ผิวทางเป็น Asphalt Concrete 2 ชั้น หนาชั้นละ 5 เซนติเมตร ผิวจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางชนิดเดียวกับผิวทาง ด้านนอกกว้างข้างละ 2.50 เมตร มีเกาะกลางแบบ Raised Median และแบบ Barrier Type II
ลิขสิทธิ์ © 2016 สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง
อาคารเฉลียววัชรพุกก์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400