ประวัติโครงการก่อสร้าง

โครงการฯ สาย นครสวรรค์ - ชัยภูมิ ตอน อ.ชุมแสง - อ.หนองบัว ตอน 2

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 จุดเริ่มต้นที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ผ่าน อ.ชุมแสง อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ , อ.บึงสามพัน อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ , อ.ภักดีชุมพล อ.หนองบัวระเหว อ.บ้านเขว้า สิ้นสุดที่ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ รวมระยะทางยาวประมาณ 255.000 กิโลเมตร
เป็นทางหลวงแบบ 2 ช่องจราจรไปกลับ โดยผิวทางเดิมเป็น Double Surface Treatment ผิวจราจรกว้าง 7.00 เมตร ไหล่ทางกว้าง 1.00 เมตร รวมคันทางกว้าง 9.00 เมตร ลักษณะผิวทางเดิมชำรุด เสียหายแตกร้าว เกิดการทรุดตัวและเป็นอุปสรรคต่อการจราจรและการขนส่งสินค้าของผู้ใช้เส้นทาง ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ มีความล่าช้าในการเดินทางจำเป็นต้องมีการก่อสร้างปรับปรุงผิวทางเดิม
เพื่อเป็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินสายหลักระหว่างภาค เพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันและอนาคต ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า
ลดปัญหาอุบัติเหตุของประชาชนผู้ใช้เส้นทางได้รับความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยในการเดินทาง เพิ่มศักยภาพการแข่งขันและพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน
ปัจจุบันตามอนุมัติกรมฯ ให้สำนักก่อสร้างทางที่ 1 ดำเนินการออกประกาศประกวดราคาจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ งานจ้างเหมาทำการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 225 สายนครสวรรค์ – ชัยภูมิ ตอน อ.ชุมแสง - อ.หนองบัว ตอน 2 ระหว่าง กม.45+000.000 ถึง กม.70+000.000 ระยะทางยาวประมาณ 25.000 กิโลเมตร
ตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) กำหนดมาตรฐานชั้นทางพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร ผิวทางเป็นแบบASPHALTIC CONCRETE 2 ชั้น หนาชั้นละ 5 เซนติเมตร เกาะกลางเป็นแบบกำแพงกั้น (BARRIER MEDIAN) กว้าง 5.10 เมตร ไหล่ทางชนิดเดียวกันกับผิวทางจราจรด้านนอกกว้างด้านละ 2.50 เมตร มีงานก่อสร้างสะพาน 12 แห่ง ก่อสร้างBox Culvert 8 แห่ง สะพานลอยคนเดินข้าม 2 แห่งรวมถึงต่อความยาวท่อระบายน้ำใหม่ โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการฯ กม. 45+000 (6+918.853 เดิม) - กม.70+000(31+918.853เดิม) รวมระยะทางในการก่อสร้าง 25.000 กิโลเมตร รวมงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างและไฟกระพริบบนทางหลวง เส้นทางตอนนี้อยู่ในท้องที่ อำเภอชุมแสงและอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ กำหนดเวลาทำการ 810 วัน
- สำนักก่อสร้างทางที่ 1 ได้ออกประกาศประกวดราคาจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ตามประกาศเลขที่ สท.1/16/2563 ลงวันที่ 10 มีนาคม2563 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- กำหนดยื่นเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างวันที่ 10 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 8 เมษายน 2563มีผู้ยื่นเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 6 ราย
- กำหนดยื่นข้อเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ใน วันที่ 9 เมษายน 2563 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว
มีผู้ยื่นเอกสารประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 4 ราย คณะกรรมการพิจารณา ผลการประกวดราคาฯ ได้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้มีสิทธิเสนอราคา ปรากฏว่าได้เสนอถูกต้องตามเงื่อนไขทุกราย
จึงเห็นควรให้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเป็นผู้เสนอราคาทั้ง 4 รายโดยใช้หลักเกณฑ์ราคาต่ำสุดและพิจารณาจากราคารวมปรากฎผลการเสนอราคา ดังนี้
1. บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด เสนอราคา 915,374,966.67 บาท
2. บริษัท โรจน์สินก่อสร้าง จำกัด เสนอราคา 998,172,000.00 บาท
3. บริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด เสนอราคา 1,149,861,077.00 บาท
4. บริษัท เอส.เค.วาย คอนสตรัคชั่น จำกัด เสนอราคา 1,152,688,489.00 บาท
คณะกรรมการคำนวณราคากลาง ได้กำหนดราคากลางเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 1,149,968,377.50 บาท (หนึ่งพันหนึ่งร้อยสี่สิบเก้าล้านเก้าแสนหกหมื่นแปดพันสามร้อยเจ็ดสิบเจ็ดบาทห้าสิบสตางค์) ผลการประกวดราคา ปรากฏว่า บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นเงิน 915,374,966.67 บาท ราคาที่เสนอต่ำกว่าราคากลาง (1,149,968,377.50 -915,374,966.67) = 234,593,410.83 บาท หรือ 20.40%
คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ได้ดำเนินการตามระเบียบของทางราชการและตามมาตรการแนวทางมติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๖/ว๔๘ ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ โดยขอให้บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด ปรับลดราคาค่าก่อสร้างลงอีก
บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด ได้มีหนังสือที่ SKY.124/2563 ลงวันที่ 20 เมษายน 2563 ปรับลดราคาค่าก่อสร้างคงเหลือเป็นเงินทั้งสิ้น 915,358,732.00 บาท (เก้าร้อยสิบห้าล้านสามแสนห้าหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยสามสิบสองบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ต่ำกว่าราคาที่เสนอ (915,374,966.67 – 915,358,732.00) = 16,234.67 บาท
- ต่ำกว่าราคากลาง (1,149,968,377.50 – 915,358,732.00) = 234,609,645.50 บาท
หรือ 20.40 %
- ต่ำกว่างบประมาณ (1,150,000,000.00 – 915,358,732.00) = 234,641,268.00 บาท
หรือ 20.40 %
สำนักก่อสร้างทางที่ 1 พิจารณาแล้วเห็นว่า คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ได้ดำเนินการครบถ้วนถูกต้องตามระเบียบของราชการแล้ว ราคาค่างานที่รับไว้เป็นราคาต่ำสุดเป็นเงินทั้งสิ้น 915,358,732.00 บาท (เก้าร้อยสิบห้าล้านสามแสนห้าหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยสามสิบสองบาทถ้วน) จึงเห็นสมควรรับราคาของบริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด ไว้ดำเนินการ สำหรับงบประมาณดำเนินการ
ก่อสร้างทางสายนี้ ได้รับงบประมาณตลอดสายทาง 1,150.000 ล้านบาท ในปี 2563 ได้รับงบประมาณ 230.000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะผูกพันงบประมาณปีต่อๆ ไปจนครบจำนวนเงินค่างาน
สำนักก่อสร้างทางที่ 1 ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรรมการตรวจรับพัสดุ ประกอบด้วย
1. นายนรินทร์ ศรีสมพันธุ์ วิศวกรใหญ่ด้านควบคุมการก่อสร้าง ประธานกรรมการ
2. นายเสริมศักดิ์ นัยนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 11 กรรมการ
3. นายโกสินทร์ เจติยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์และตรวจสอบ กรรมการ
4. นายสกล กาญจนากร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงนครสวรรค์ที่ 2 กรรมการ
5. นายอานุภาพ เจริญศักดิ์ วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ สำนักสำรวจและออกแบบ กรรมการ
6. นายพรชัย อดุลยธรรม วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรรมการ
7. นายราชันย์ เหมวิเชียร นายช่างโครงการ ฯ ( ผู้ควบคุมงาน ) กรรมการ


ลิขสิทธิ์ © 2016 สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง
อาคารเฉลียววัชรพุกก์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400