ประวัติโครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3395 สาย บ.ช่องกุ่ม - บ.โคคลาน ตอน 1

เพื่อพัฒนาทางหลวงให้ได้มาตรฐานที่ดีขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับปริมาณ จราจรที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการจราจรบนโครงข่ายทางหลวง ซึ่งทางหลวงหมายเลข
3395 บ.ช่องกุ่ม - บ.โคคลาน เป็นโครงข่ายทางหลวงสายหลักในการเดินทางจาก กรุงเทพฯ และปริมณฑลรวมทั้งภาคตะวันออก ไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่มีการคมนาคมขนส่งสินค้า โดยเฉพาะรถบรรทุกหนักจำนวนมาก (Truck route) รวมทั้งมีปริมาณจราจรหนาแน่นและความแออัด ก่อให้เกิดปัญหาการจราจร ความล่าช้าในการเดินทางและอุบัติเหตุ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการก่อสร้างยกมาตรฐานทางหลวงเป็น 4 ช่องจราจร เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยในการเดินทางคมนาคมขนส่งระหว่างภูมิภาค รวมทั้งการขนส่งระหว่างประเทศผ่านประตูการค้าสำคัญ ท่าเรือแหลมฉบังกับ สะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว แห่งที่ 2 มุกดาหาร/สะหวันนะเขต เป็นการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันประเทศด้านการคมนาคมขนส่ง ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน แก้ไขปัญหาการจราจรคับคั่ง สนับสนุนระบบโลจิสติกส์และการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านต่างๆ ของประเทศ ลดค่าใช้จ่ายในการใช้รถ และเวลาในการเดินทาง ผู้ใช้ทางได้รับความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยในการเดินทาง ซึ่งเป็นเป้าหมายบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์และประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก กรมทางหลวงได้รับงบประมาณปี 2566 เพื่อทำการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3395 สาย บ.ช่องกุ่ม - บ.โคคลาน ตอน 1 ระหว่าง กม.86+000.000
- กม.100+000.000 ระยะทางยาวประมาณ 14.000 กิโลเมตร กำหนดเป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษ (4 ช่องจราจร) โดยทำการก่อสร้างขยายทางเดิมขนาด 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร (ไปกลับข้างละ 2 ช่องจราจร) ผิวทางเป็น Join t Reinforced Concrete Pavement (JRCP) หนา 25 เซนติเมตร ผิวจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านในชนิดเดียวกับผิวทาง กว้าง 1.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอก ผิวทางเป็น Asphalt Concrete หนา 5 เซนติเมตร กว้าง 2.50 เมตร มีเกาะกลางแบบ Raised Median, Depressed Median และ Barrier Median รวมงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ไฟสัญญาณจราจรและ ไฟกระพริบบนทางหลวง
ลิขสิทธิ์ © 2016 สำนักก่อสร้างทางที่ 1 กรมทางหลวง
อาคารเฉลียววัชรพุกก์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400