โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 201 สาย บ.ผานกเค้า - บ.หลักร้อยหกสิบ
ประวัติความเป็นมา
ทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ถือเป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่มีเส้นทางยาวจนจรดถึงริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ทั้งยังตัดผ่านเส้นทางสำคัญหลายเส้นทาง เช่น ทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ทางหลวงหมายเลข ๒๑ เป็นต้น ปัจจุบันมีการสัญจรผ่านด้วยปริมาณที่หนาแน่นขึ้น ก่อให้เกิดความแออัดในเขตชุมชนและพื้นที่สำคัญที่เส้นทางตัดผ่าน โดยก่อสร้างเป็น ๔ ช่องจราจร เพื่อสนันสนุนยุทธศาตร์ชาติ 6. ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ของประเทศ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ภาคการคมนาคมขนส่งให้สมบูรณ์สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นด้านการคมนาคมขนส่งของไทย (พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๕) เป็นแผนงานเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน สอดคล้องยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม โดยมีเป้าหมายการควบคุมระดับการให้บริการ (Serviceability) และเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทาง (Mobility) เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ระบบการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย เสริมโครงข่ายทางหลวงให้สมบูรณ์ พร้อมทั้งรองรับปริมาณการจราจรที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยกระดับในการให้บริการของทางหลวง ซึ่งเป็นเป้าหมายบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
ลักษณะโครงการ
โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ สายบ.ผานกเค้า-บ.หลักร้อยหกสิบ ระหว่างกม.๒๖๙+๐๐๐.๐๐๐ - กม.๒๗๒+๑๐๐.๐๐๐ (กม.ใหม่), กม.๒๗๔+๖๕๐.๐๐๐-กม.๒๘๖+๕๐๐-๐๐๐ (กม.ใหม่) และ กม.๒๘๙+๔๐๐.๐๐๐ - กม.๒๙๕+๐๐๕.๐๐๐ (กม.ใหม่) ระยะทางยาวประมาณ ๒๐.๕๕๕ กิโลเมตร มาตรฐานชั้นทาง ๔ ช่องจราจร (ไปกลับข้างละ ๒ ช่องจราจร) ทางหลวงมาตรฐานชั้นทางพิเศษ (๔ ช่องจราจร) ก่อสร้างขยาย จาก ๒ ช่องจราจร เป็น ๔ ช่องจราจร (ไปกลับข้างละ ๒ ช่องจราจร) ผิวทางเป็น Asphalt Concrete หนา ๕ เชนติเมตร พื้นทางเป็น Asphalt Concrete หนา ๑๐ เชนติเมตร ผิวจราจรกว้างช่องละ ๓.๕๐ เมตร ไหล่ทางชนิดเดียวกับผิวทางด้านนอกกว้าง ๒.๕๐ เมตร มีเกาะกลางแบบ Barrier Median และก่อสร้างบริเวณทางแยก ผิวทางเป็น Concrete Pavement (JRCP) หนา ๒๕ เชนติเมตร จราจรกว้างช่องละ ๓.๕๐ เมตร ไหล่ทางชนิดเดียวกับผิวทางด้านนอกกว้าง ๒.๕๐ เมตร และมีเกาะกลางแบบ Raised Median กว้าง ๔.๖๐ เมตร รวมงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างและไฟกระพริบบนทางหลวง
ประโยชน์ที่จะได้รับ
๑. เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทาง
๒. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษกิจ สังคมและการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย
๓. การขนส่งสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรทำได้รวดเร็วขึ้น
๔. เพิ่มความปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุบนถนน
๕. ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นบริเวณสองข้างทางหลวง
ทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ถือเป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่มีเส้นทางยาวจนจรดถึงริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ทั้งยังตัดผ่านเส้นทางสำคัญหลายเส้นทาง เช่น ทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ทางหลวงหมายเลข ๒๑ เป็นต้น ปัจจุบันมีการสัญจรผ่านด้วยปริมาณที่หนาแน่นขึ้น ก่อให้เกิดความแออัดในเขตชุมชนและพื้นที่สำคัญที่เส้นทางตัดผ่าน โดยก่อสร้างเป็น ๔ ช่องจราจร เพื่อสนันสนุนยุทธศาตร์ชาติ 6. ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ของประเทศ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ภาคการคมนาคมขนส่งให้สมบูรณ์สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นด้านการคมนาคมขนส่งของไทย (พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๕) เป็นแผนงานเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน สอดคล้องยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม โดยมีเป้าหมายการควบคุมระดับการให้บริการ (Serviceability) และเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทาง (Mobility) เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ระบบการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย เสริมโครงข่ายทางหลวงให้สมบูรณ์ พร้อมทั้งรองรับปริมาณการจราจรที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยกระดับในการให้บริการของทางหลวง ซึ่งเป็นเป้าหมายบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
ลักษณะโครงการ
โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ สายบ.ผานกเค้า-บ.หลักร้อยหกสิบ ระหว่างกม.๒๖๙+๐๐๐.๐๐๐ - กม.๒๗๒+๑๐๐.๐๐๐ (กม.ใหม่), กม.๒๗๔+๖๕๐.๐๐๐-กม.๒๘๖+๕๐๐-๐๐๐ (กม.ใหม่) และ กม.๒๘๙+๔๐๐.๐๐๐ - กม.๒๙๕+๐๐๕.๐๐๐ (กม.ใหม่) ระยะทางยาวประมาณ ๒๐.๕๕๕ กิโลเมตร มาตรฐานชั้นทาง ๔ ช่องจราจร (ไปกลับข้างละ ๒ ช่องจราจร) ทางหลวงมาตรฐานชั้นทางพิเศษ (๔ ช่องจราจร) ก่อสร้างขยาย จาก ๒ ช่องจราจร เป็น ๔ ช่องจราจร (ไปกลับข้างละ ๒ ช่องจราจร) ผิวทางเป็น Asphalt Concrete หนา ๕ เชนติเมตร พื้นทางเป็น Asphalt Concrete หนา ๑๐ เชนติเมตร ผิวจราจรกว้างช่องละ ๓.๕๐ เมตร ไหล่ทางชนิดเดียวกับผิวทางด้านนอกกว้าง ๒.๕๐ เมตร มีเกาะกลางแบบ Barrier Median และก่อสร้างบริเวณทางแยก ผิวทางเป็น Concrete Pavement (JRCP) หนา ๒๕ เชนติเมตร จราจรกว้างช่องละ ๓.๕๐ เมตร ไหล่ทางชนิดเดียวกับผิวทางด้านนอกกว้าง ๒.๕๐ เมตร และมีเกาะกลางแบบ Raised Median กว้าง ๔.๖๐ เมตร รวมงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างและไฟกระพริบบนทางหลวง
ประโยชน์ที่จะได้รับ
๑. เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทาง
๒. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษกิจ สังคมและการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย
๓. การขนส่งสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรทำได้รวดเร็วขึ้น
๔. เพิ่มความปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุบนถนน
๕. ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นบริเวณสองข้างทางหลวง